
พูดมากนั้นมีอะไรดี ดูกบในหนองน้ำซิ มันร้องตะเบ็งเสียงอยู่ทั้งวันทั้งคืน จนลิ้นแห้งปากห้อย ร้องจนคอแทบแตกอยู่แล้ว ยังไม่เห็นมีใครสนใจเลย แทนที่จะเป็นผลดีกลับเป็นผลร้ายต่อตัวเอง
มีอาจารย์กับลูกศิษย์กำลังสนทนาถึงเรื่องของการพูดว่า การพูดในรูปแบบใดจะก่อให้เกิดประโยชน์หรือโทษ ทั้งสองสนทนากันอย่างออกรส พอมาถึงช่วงที่อาจารย์เปิดโอกาสให้ลูกศิษย์ถาม ลูกศิษย์ก็ปล่อยคำถามออกไปอย่างฉะฉานทันทีว่า
"ท่านอาจารย์ครับ มีคุณอันใดอยู่หรือไม่ในการเป็นคนช่างเจรจาพาที ?" ฝ่ายอาจารย์กผ้ให้การสัชนาว่า "พูดมากนั้นมีอะไรดี ดูกบในหนองน้ำซิ มันร้องตะเบ็งเสียงอยู่ทั้งวันทั้งคืนจนลิ้นแห้งปากห้อย ร้องจนคอแทบแตกอยู่แล้ว ยังไม่เห็นมีใครสนใจเลย แทนที่จะเป็นผลดีกลับเป็นผลร้ายต่อตัวเอง ใครที่ได้ยินเสียงกบ ต่างก็ถืออาวุธเพื่อหวังไปปองร้ายนำมาเป็นอาหารทั้งสิ้น แต่ตรงกันข้ามกับเสียงของไก่ที่ขันบอกเวลาให้แก่คน แม้จะขันเพียงสองหรือสามครั้งเมื่อตอนใกล้รุ่ง แต่ทุกคนกลับเงี่ยหูฟังอย่างตั้งใจ เพราะรู้ว่่าเสียงขันของไก่ที่ดังขึ้น เป็นสัญญาณบอกว่าอีกไม่นานจะรุ่งสางแล้ว ดังนั้นเวลาจะพูดสิ่งใด จงพูดแต่พอดีและจงพูดก็ต่อเมื่อมีเป้าหมาย"
ข้อคิด...
คำพูดที่คนเราเปล่งออกมาแต่ละครั้ง ถือว่าเป็นพลังของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ภาวะใหม่เสมอ อาจเป็นไปในทางที่ดีหรือเลวร้ายก็อยู่ที่เราผู้ออกคำสั่งเป็นหลัก ด้วยเหตุที่คำพูดล้วนมาจากใจเป็นผู้กรองข้อมูลของถ้อยคำ ปราชญ์จึงเตือนให้รู้จักคิดเสียก่อนแล้วจึงค่อยพูด เพราะเมื่อเปล่งวาจาออกไปแล้ว นั่นคือจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่เราไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรตามมา สุนทรภู่ กวีเอกแห่งแผ่นดินสยามจึงกล่าวให้ข้อคิดเกี่ยวกับการพูดไว้ว่า
ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น